วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาทางการศึกษาไทย

การศึกษาคือ เป็นเครื่องมือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเป็นเครื่องชี้นำสังคม ผู้ที่ได้รับการศึกษาเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ
สภาวะการศึกษาไทยล่าสุด ปี2550- 2551
พบว่าประชากรในวัยเรียน 3-17 ปี มีโอกาสได้รับการศึกษาเป็นสัดส่วนต่อประชากรสูงขึ้นจาก 85.31% ในปีการศึกษา 2549 เป็น 88.77% ในปี 2551
จำนวนประชากรวัย 3-17 ปี ที่หายไปไม่ได้เรียนในปี 2551 สูงถึง 11.23%หรือ 1.6 ล้านคน ของประชากรวัยเดียวกัน ทั้งที่กฎหมายกำหนดให้รัฐบาลจัดการศึกษาภาคบังคับ9 ปี
แสดงว่ามีเด็กไม่ได้เข้าเรียน และออกกลางคัน ไม่ได้เรียนต่อในช่วงชั้นต่างๆ มาก
ข้อมูลออกกลางคันปี 2550 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่า มีนักเรียนออกกลางคันในทุกระดับชั้นรวม 1.19 แสนคน หรือ 1.4%
จำนวนนักศึกษาปริญญาตรีในปี 2549-2550 มีประมาณ 2.4 ล้านคน ปริญญาโท 1.8 แสนคน และปริญญาเอก 16,305 คน
จบปริญญาตรี ปีละ 2.7 แสนคน
ว่างงานปีละ 1 แสนคน จุดนี้ทำให้ผู้เรียนระดับต่ำกว่าปริญญาตรีในปี2550ลดลง เพราะสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ขยายการเรียนระดับปริญญาตรี และสูงกว่ามากขึ้น เนื่องจากนิยมเรียนให้ได้ปริญญา

การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา จากการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศ อันดับของไทยมีแนวโน้มต่ำลงมาตลอด(IMD)
- ปัจจัยที่เป็นตัวฉุดคือ ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการศึกษา และการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์
- จากการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ที่ผ่านมา มีปัญหาเรื่องมาตรฐานครู ด้านความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า สถานศึกษามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 34.2 หรืออยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง
ข้อเสนอแนะการพัฒนาการศึกษาไทย
1. ต้องจัดการศึกษาให้ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ให้เรียนรู้ใหม่ปรับตัวใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข และสร้างสรรค์
2. ควรลดขนาดโครงสร้างการบริหารการศึกษา
3. ลดบทบาทของการบริหารแบบรวมศูนย์อยู่ที่รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และส่วนกลาง
4. กระจายอำนาจ ให้มีการบริหารแบบใช้ปัญญารวมหมู่
5. ปฏิรูปการจัดสรร และการใช้งบประมาณให้เป็นธรรม
6.ปฏิรูปด้านคุณภาพประสิทธิภาพ และคุณธรรมของครูอาจารย์
7. เปลี่ยนแปลงวิธีวัดผลสอบแข่งขัน และการคัดเลือกคนเข้าเรียน มหาวิทยาลัยรัฐ
8. ปฏิวัติการศึกษา โดยสร้างความเสมอภาค โดยเฉพาะต้องทุ่มงบฯพัฒนาเด็กปฐมวัย ไม่ใช่ทุ่มงบฯ กับโครงการเมกะโปรเจ็คต์
สำรวจปัญหาอุปสรรคของการศึกษาขั้นพื้นฐาน




ระดับชั้นอนุบาล
1.สื่อวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอ
2. เด็กยังเล็กไม่สามารถดูแลตัวเองได้
3. ครูมีน้อยไม่สามารถดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่
4. ศักยภาพของครูผู้สอนและการเตรียมพร้อมใน
การสอนของครู
การเรียนรู้พัฒนาการของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน

ระดับชั้นประถมศึกษา
1.ศักยภาพของแต่ละโรงเรียนแตกต่างกัน และขาดความพร้อมด้านเครื่องมืออุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย
2. เด็กขาดความกระตือรือร้น ไม่ให้ความสำคัญในการเรียน ปัญหาเรื่องเด็กขาดทักษะ คิดไม่เป็น และไม่รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง
3. ครูไม่มีเวลาดูแลเด็กได้เต็มที่ และภาระงานมีมาก
4. วุฒิการศึกษาและความรู้ความสามารถของครูผู้สอนไม่ตรงกับวิชาที่สอน


ระดับชั้นมัธยมศึกษา
เด็กไม่ตั้งใจเรียนขาดความสนใจและสมาธิในการเรียนมีน้อย
หลักสูตรการเรียนการเรียนการสอนไม่เหมาะสมกับวัยของเด็ก
สื่ออุปการณืการเรียนการสอนไม่เพียงพอ
สภาพสังคมและสื่อต่างๆที่มอมเมาเยาวชนจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
เด็กสนใจกิจกรรมมากเกินไปจนไม่มีเวลาทบทวนบทเรียน
เรื่องเร่งด่วนที่ควรแก้ไข
1. ควรปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก
2. ต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
3. ควรมีสื่อการเรียนการสอนเพียงพอเหมาะสมกับวิชาที่เรียน
4. สร้างพื้นฐานคุณธรรมเริ่มต้นจากครวบครัวปลูกฝังห้เด็กรักการเรียนการอ่านตั้งแต่วัยเยาว์และสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ให้มากขึ้น
แหล่งอ้างอิง
ดร.จรวยพร ธรณินทร์
สวนดุสิตโพสล์

http://www.onec.go.th/

www.kmutt.ac.th/organization/Education

ผู้จัดการออนไลน์

มติชนออนไลน์

www.ryt9.com/s/sdp/232859

www.maceducation.com/store/doc/ecation.pdf

จัดทำโดย

นายวรัญญ์ ดวงใหญ่ 53540195

นางสาวปิยวรรณ แผ่เต็ม 53540190

นางสาวเกจิณี หนูเทศ 53540169

นางสาวกาญจนา จมดี 53540178

นางสาวชไมพร สงฆ์เจริญ 53540181

นายปรัชญ์ วีรเกียรติสุนทร 53540188